ตารางสอบ รูปแบบและจำนวนข้อสอบ GAT/PAT 65 #TCAS65

จำนวนผู้เข้าชม 5,285
ตารางสอบ รูปแบบและจำนวนข้อสอบ GAT/PAT 65 #TCAS65

ตารางสอบ GAT/PAT65


วัน เวลา รหัสและชื่อวิชา
วันเสาร์
12 มีนาคม 2565
08.30 – 11.30 น. 85 GAT ความถนัดทั่วไป
13.00 – 16.00 น. 71 PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
วันอาทิตย์
13 มีนาคม 2565
08.30 – 11.30 น. 72 PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
13.00 – 16.00 น. 75 PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
วันจันทร์
14 มีนาคม 2565
08.30 – 11.30 น. 73 PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
13.00 – 16.00 น. 74 PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
วันอังคาร
15 มีนาคม 2565
08.30 – 11.30 น. 76 PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
13.00 – 16.00 น. 77 PAT7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
78 PAT7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
79 PAT7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
80 PAT7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
81 PAT7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
82 PAT7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
83 PAT7.7 ความถนัดทางภาษาเกาหลี

 




วิชา GAT ความถนัดทั่วไป ส่วน 1 การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์

การอ่านเชิงวิเคราะห์การเขียนเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (ลักษณะการตอบเป็น ปรนัยแบบกลุ่มคำตอบสัมพันธ์กัน หลายกลุ่ม หลายตัวเลือก)
 

วิชา GAT ความถนัดทั่วไป ส่วน 2 การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ

การสื่อสารทางภาษาอังกฤษ 60 ข้อ
1) Expressions
2) Vocabulary
3) Reading Comprehension
4) Structure and Writing
 

วิชา PAT1 ความถนัดทางวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ 3 ด้าน ดังนี้

1. การเชื่อมโยงความรู้ 10-14 ข้อ
ความสามารถในการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือ ในการหาคำตอบทางคณิตศาสตร์ในเนื้อหาต่าง ๆ หรือศาสตร์อื่น ๆ หรือสถานการณ์ในชีวิตจริง
2. การแก้ปัญหาและการให้เหตุผล 20-24 ข้อ
ความสามารถในการทำความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์ วางแผนแก้ปัญหา และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้อง และสามารถให้เหตุผลสนับสนุนหรือโต้แย้ง เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่มีข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์รองรับ
3. การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ 10-14 ข้อ
ความสามารถในการใช้รูป ภาษา และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อความหมาย สรุปผล และนำเสนอได้อย่างถูกต้องชัดเจน
 
โดยข้อสอบมีขอบเขตเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้แกนกลางและสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย
1) สาระจำนวนและพีชคณิต
2) สาระการวัดและเรขาคณิต
3) สาระสถิติและความน่าจะเป็น
4) สาระแคลคูลัส
 
หมายเหตุ :
  • ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ สามารถศึกษาได้จากเอกสารตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
  • จากเว็บไซค์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการคณิตศาสตร์
 

วิชา PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์

วัดสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน ดังนี้
1. การเชื่อมโยงความรู้ 15 – 19 ข้อ
ความสามารถในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย หรือเชื่อมโยง กับข้อมูล เพื่อหาคำตอบ ข้อสรุป หรือแก้ปัญหาในชีวิตจริง
2. การประเมินและการออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 24 – 28 ข้อ
ความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมิน หรือเลือกใช้ข้อมูล เพื่อเสนอสมมติฐานหรือกระบวนการสำรวจตรวจสอบ และสามารถตรวจสอบ ความสมเหตุสมผล หรือสามารถให้เหตุผลเพื่อให้เกิดการยอมรับในข้อสรุปที่ได้จากกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
3. การสื่อสารและการสื่อความหมายข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ 15 -19 ข้อ
ความสามารถในการประเมิน หรือเลือกใช้ข้อมูล เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารให้เหมาะสม รวมทั้งใช้ข้อมูลจากการนำเสนอรูปแบบต่างๆ ในการตีความหรืออธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์
โดยข้อสอบมีขอบเขตเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย
1) สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
2) สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ
3) สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ
 
และสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย
1) สาระชีววิทยา
2) สาระเคมี
3) สาระฟิสิกส์
4) สาระโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
 
หมายเหตุ :
  • ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ สามารถศึกษาได้จากเอกสารตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
  • จากเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
 

วิชา PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

เนื้อหา
1) กลศาสตร์ แรง มวลและการเคลื่อนที่
2) ไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า คลื่น แสงและเสียง
3) พลังงาน ความร้อนและของไหล
4) เคมี สารและสมบัติของสาร
5) คณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์เชิงวิศวกรรม
6) พื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์
7) การเขียนแบบเชิงวิศวกรรม
 
สมรรถนะ
1) การคิดวิเคราะห์เชิงช่างและมิติสัมพันธ์
2) ความถนัดเชิงช่าง
3) ความคิดเชิงตรรกะเชิงช่าง
4) สามัญสำนึกเรื่องความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม
5) การแก้ปัญหา
6) ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 

วิชา PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

เนื้อหา
1) ความรู้ทั่วไปด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม และการออกแบบ
2) ฟิสิกส์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน
 
สมรรถนะ
1) การรับรู้รูป 2 มิติ และรูปทรง 3 มิติ และการจัดองค์ประกอบ
2) การวิเคราะห์เชิงตรรกะ
3) ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ
4) ทักษะการวาดภาพ
 

วิชา PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู

เนื้อหา
1) ความรู้ทั่วไปในบริบทของความเป็นครู
2) สถานการณ์หรือปัญหาทั่วไป รวมทั้งเชิงนามธรรม
– วัดแววความเป็นครู
– ความรู้ทั่วไป
– ความถนัดด้านภาษา
– ความถนัดด้านเหตุผล
– ความถนัดด้านตัวเลข
– ความถนัดด้านมิติสัมพันธ์
 
สมรรถนะ
1) สมรรถนะและคุณสมบัติของความเป็นครู
2) สมรรถนะทางการคิดเพื่อการเรียนรู้
 

วิชา PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์

เนื้อหา
1) ความรู้ทั่วไปทางศิลปกรรมศาสตร์
2) ความรู้ทางทัศนศิลป์ และออกแบบ
3) ดนตรีไทย ดนตรีสากล
4) นาฏศิลป์ / การแสดง
5) บูรณาการความรู้ด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ / ศิลปะการแสดง
 
สมรรถนะ
1) ศักยภาพการรับรู้ รูป 2 มิติ และรูปทรง 3 มิติ และการจัดองค์ประกอบศิลป์
2) การคิดสร้างสรรค์ – จินตนาการ
3) การรับรู้ภาพด้วยสายตา เพื่อการจำลองภาพ สิ่งที่เราเห็นในสิ่งแวดล้อม และนำมาสร้างแรงบันดาลใจ และงานสร้างสรรค์
4) พื้นฐานความรู้การวาดภาพ และองค์ประกอบศิลป์
5) พื้นฐานความรู้ทางด้านเครื่องดนตรี
6) บูรณาการความรู้ด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์/ศิลปะการแสดง
 

วิชา PAT7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส

เนื้อหา
1) คำศัพท์พื้นฐาน (Lexique)
2) ไวยากรณ์และโครงสร้าง (Grammaire)
3) สำนวน (Expression)
4) วัฒนธรรมฝรั่งเศส (Culture)
5) การออกเสียง (Prononciation)
6) การอ่านจับใจความ
7) บทสนทนา
 
สมรรถนะ
1) ความสามารถในการอ่าน
2) ความสามารถในการเขียน
3) ความสามารถในการสื่อสาร
 

วิชา PAT7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน

เนื้อหา
คำศัพท์ สำนวน และโครงสร้างภาษาเยอรมัน (Wortschatz und Strukturen)
 
สมรรถนะ
1) การใช้คำศัพท์และสำนวนภาษาเยอรมันในสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน (Ausdrücke und Wendungen in Alltagssituationen)
2) การอ่านตัวบทภาษาเยอรมัน (Lesen: Lücken- und Lesetexte)
 

วิชา PAT7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น

เนื้อหา
1) คำศัพท์ขั้นพื้นฐาน
2) คันจิขั้นพื้นฐาน
3) ไวยากรณ์ขั้นพื้นฐาน
4) ญี่ปุ่นศึกษา
 
สมรรถนะ
1) ความสามารถในการสื่อสาร
2) ความสามารถในการเขียน
3) ความสามารถในการอ่าน
 

วิชา PAT7.4 ความถนัดทางภาษาจีน

เนื้อหา
1) คำศัพท์ และสำนวน
2) ไวยากรณ์และโครงสร้าง
3) สัทอักษร
4) ความรู้ทั่วไป
5) อักษรจีน
6) การเขียน
7) การอ่าน
8) สนทนา
 
สมรรถนะ
1) ความสามารถในการสื่อสาร
2) ความสามารถในการอ่าน
3) ความสามารถในการเขียน
 
(ในข้อสอบมีข้อสอบฉบับตัวย่อ (ส่วนหน้า)และฉบับตัวเต็ม (ส่วนหลัง) ให้เลือกทำฉบับใดฉบับหนึ่ง)
 

วิชา PAT7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ

เนื้อหา
1) ไวยากรณ์
2) วัฒนธรรมการใช้ภาษาอาหรับ-ไทย
3) คำศัพท์
4) ความเข้าใจภาษา
 
สมรรถนะ
ความสามารถในการอ่าน
 

วิชา PAT7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี

เนื้อหา
1) คำศัพท์พื้นฐาน
2) ไวยากรณ์และโครงสร้าง
3) ความเข้าใจภาษา
 
สมรรถนะ
1) ความสามารถในการอ่านเขียน
2) ความสามารถในการแปลความ
3) ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตีความ
 

วิชา PAT7.7 ความถนัดทางภาษาเกาหลี

เนื้อหา
1) ไวยากรณ์
2) คำศัพท์
3) สังคมและวัฒนธรรม
 
สมรรถนะ
1) ความสามารถในการสื่อสาร
2) ความสามารถในการอ่าน


ข้อมูลจาก : blueprint.mytcas.com/


   

 

อัปเดตเมื่อ : 17 พ.ค. 2564 (00:00)